เมนู

แม้ในพระคาถานั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ ฟ้า (มหาเมฆ) ร้อง
ด้วยเสียงเบา ๆ ก่อน แล้วจึงร้องกึกก้องไปทั่วทุกห้วงน้ำและลำธารอีก แล้ว
โปรยฝนลงมา ไหลไปให้ที่ลุ่มและที่ดอนทั่วทุกหนแห่ง เต็มเจิ่งไปด้วยอุทกวารี
ทำให้เป็นห้วงน้ำห้วงเดียวกัน ฉันใด บุคคลที่ใจกว้างบางคนในที่นี้คือใน
โลกนี้ ก็ฉันนั้น เพราะเป็นผู้มีใจเสมอในคนทั่วไป เหมือนมหาเมฆนั้น
เพราะต้องให้ฝนตกลงมา เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน โดยที่ทรัพย์เป็นของได้มาด้วย
ความหมั่น คือเกิดขึ้นด้วยความขยันหมั่นเพียรของตน รวบรวมทรัพย์นั้นไว้
โดยธรรม คือโดยชอบ ยังวณิพกทั้งหลายผู้ถึงแล้ว คือมาถึงแล้ว ให้อิ่มคือ
ให้อิ่มหนำสำราญ โดยชอบ คือ พอเหมาะแก่กาลเทศะ และเหมาะสมแก่
ความต้องการ โดยชอบทีเดียว ด้วยข้าว น้ำ และไทยธรรมอย่างอื่น ที่เกิด
จากทรัพย์ที่รวบรวมไว้นั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาอวุฏฐิกสูตรที่ 6

7. สุขสูตร


ว่าด้วยผู้ปรารถนาสุข 3 ประการพึงรักษาศีล


[254] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-
สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตปรารถนาสุข 3 ประการนี้
พึงรักษาศีล 3 ประการเป็นไฉน ? คือ บัณฑิตปรารถนาอยู่ว่า ขอความ
สรรเสริญจงมาถึงแก่เรา 1 ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เรา 1 เมื่อตายไป เรา
จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 1 พึงรักษาศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตปรารถนา
สุข 3 ประการนี้แล พึงรักษาศีล.